ไม่เข้าใจแต่ไม่แสดงออก! 5 ปัญหาของเด็ก(ไทย)ในการฟังภาษาอังกฤษ
01/04/2018   |   IN BLOG   |   BY BRAINFITSTUDIO

ไม่เข้าใจแต่ไม่แสดงออก! 5 ปัญหาของเด็ก(ไทย)ในการฟังภาษาอังกฤษ

 

ไม่เข้าใจแต่ไม่แสดงออก! 5 ปัญหาของเด็ก(ไทย)ในการฟังภาษาอังกฤษ

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมลูกเรียนพิเศษภาษาอังกฤษเท่าไหร่ก็ยังไม่เข้าใจสักที หรือแม้แต่ฝึกกับเจ้าของภาษาก็ยังไม่สามารถสื่อสารได้ วันนี้ BrainFit จะมาไขข้อข้องใจให้คุณพ่อคุณแม่ค่ะ

ทุกการเรียนรู้เริ่มต้นที่ทักษะการฟัง ถึงแม้ว่าหูจะมีหน้าที่ได้ยินเสียง แต่รู้หรือไม่ อวัยวะที่ทำให้เราเข้าใจว่าเรากำลังได้ยินอะไรหรือฟังอะไร คือ สมอง สมองทำหน้าที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สมองที่ทำหน้าที่วิเคราะห์เสียงจากการฟังหรือประมวลผลจากการฟังนั่นเอง หากสมองส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์เสียง หรือ เรียนรู้ภาษา (Temporal Lope) ไม่แข็งแรง แน่นอนว่าจะส่งผลไปถึงการเรียนรู้ด้านอื่นๆอย่างแน่นอน พอพูดถึงการฟังแล้ว เด็กส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในคาบเรียนที่ต้องใช้ทักษะนี้เป็นพิเศษ เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ และดนตรี ว่าแต่ปัญหาที่เด็กๆมักอุบเงียบไว้ไม่ให้เรารู้มีอะไรบ้างนะ

 

1. เด็กๆมักได้ยินประโยคเป็นเสียงเดียวกันหมด

“Puff, the magic dragon lived by the sea.”

รู้หรือไม่คะ ประโยคนี้ แม้จะมีแค่ 8 คำ แต่กลับประกอบด้วยหน่วยเสียงทั้งหมด 26 หน่วยเสียงเลยทีเดียว โดยเฉพาะใน 1 คำเช่นคำว่า Lived นอกจากจะมีเสียง /l/ ที่ต้นคำแล้ว ยังต้องออกเสียงกลาง /i/ แล้วตามด้วย /v/และ /d/ ที่ท้ายคำให้ชัดด้วย คำท้ายสำคัญมากเพราะเป็นการกำหนดความหมายของประโยค (ในตัวอย่างคือทำให้สถานการณ์กลายเป็นอดีต) และนี่คือความยุ่งยากในภาษาอังกฤษที่ภาษาไทยไม่มี และเด็กๆที่วิเคราะห์เสียงได้ไม่ดีพอ ประกอบกับประสบการณ์ในการฟังและได้ยินคำต่างๆยังมีน้อย ไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์และการออกเสียงที่ถูกต้องของคำดังกล่าว ทำให้เด็กไม่สามารถจับเสียงเหล่านี้ได้ครบถ้วน แน่นอนว่าเด็กๆจะเกิดความไม่เข้าใจและอาจนำไปสู่การปิดกั้นการเรียนรู้ด้านภาษาได้

 

2.  แยกแยะเสียงของคำที่ใกล้เคียงกันไม่ออก

แม้แต่ผู้ใหญ่เอง ก็มีปัญหากับการฟังคำที่เสียงคล้ายกันเช่น “Live’ กับ ‘Leave’  ‘Fill’ กับ ‘Feel’ และ ‘Chase’ กับ ‘Chest’  การแยกแยะเสียงไม่ออก หรือแยกเสียงผิดจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเลียนเสียงของเด็กๆทันที เพราะเมื่อเด็กๆได้ยินก็มักจะพูดตามทันทีโดยไม่ทันได้ถามก่อน พอเด็กๆได้ยินคำไม่ชัด ไม่ครบทุกเสียง เด็กก็จะจำคำศัพท์และออกเสียงไม่ถูกต้องตามลำดับ นอกเหนือจากนั้น ปัญหาเหล่านี้มีต้นตอมาจากหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน  เช่นการทำให้กริยาเป็นเอกพจน์ หรือ พหูพจน์ จากการเติม s  หากไม่ออกเสียงท้ายความหมายจะเปลี่ยนทันที ในภาษาไทยไม่มีคำไหนที่ลงท้ายด้วยเสียง 'ส' ความแตกต่างตรงนี้ทำให้เป็นอุปสรรคหลักของนักเรียนไทยในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะสมองของนักเรียนไทยวิเคราะห์เสียงภาษาไทยเป็นหลักตั้งแต่เกิด การที่นักเรียนจะเรียนรู้ภาษาที่สอง สมองจึงต้องออกแรงเยอะในการวิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ ไม่แปลกที่นักเรียนจะประสบปัญหากันมาก และแน่นอนว่า อุปสรรคดังกล่าวส่งผลไปถึงเรื่องการขาดความมั่นใจซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเรียนรู้

 

3. จับความรู้สึกของประโยคไม่ได้
ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์กำกับเสียงเหมือนในภาษาไทย แต่ใช้วิธีการเน้นเสียง (Sound Stress) เพื่อสื่อความหมายและอารมณ์แทน ดังนั้นอีกปัญหาที่เด็กทุกคนมีแต่ไม่กล้าบอกคุณพ่อคุณแม่ก็คือเรื่องของการฟังเสียงของคำในประโยค เช่นคำว่า ‘Seriously’ ถ้าพูดด้วยเสียงเท่ากันจะเป็นเพียงประโยคบอกเล่า แต่ถ้าขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า ‘ly’ จะกลายเป็นประโยคคำถามหรืออุทานทันที ฟังคำเดียวอาจดูเหมือนง่าย ถ้าเช่นนั้นลองจินตนาการว่าเด็กต้องฟังประโยคยาวๆที่มีเสียงสูง เสียงต่ำ เต็มไปหมดในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นในห้องเรียน เมื่อเด็กๆแยกแยะเสียงของคำและเสียงสูงต่ำของประโยคยาวๆไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือเด็กจับความหมายและความรู้สึกที่ผู้พูดต้องการสื่อไม่ได้ และนี่คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยที่เด็กๆไม่รู้ตัว

 

4. สับสนกับเสียงในภาษาไทย
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เด็กส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการเรียนรู้ภาษาไทย ทั้งตัวอักษรและเสียงก่อน เมื่อได้ยินคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ เด็กก็จะนำเสียงที่ได้ยินไปผูกกับเสียงที่มีในภาษาไทย เช่นคำว่า ‘Comfortable’ ก็จะได้ยินเป็น ‘คอม-ฟอท-เท-เบิล’ ซึ่งจริงๆแล้วคำนี้ออกเสียงว่า ‘คอม-เฟิร์ท-เทอะ-บึล’ ซึ่งฟังดูประหลาดในภาษาไทย ยิ่งเมื่อเด็กมีทักษะการฟังไม่ดี แล้วได้ยินคำที่ไม่เคยเจอตัวเขียนมาก่อน ก็จะนึกไม่ออกว่าศัพท์ที่ได้ยินนั้นเป็นคำไหน หมายความว่าอะไร แต่เด็กๆก็มักจะไม่พูดถึงปัญหาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจเพราะว่าเด็กไม่รู้ว่ามันเป็นปัญหา และนึกว่าตัวเองได้ยินและออกเสียงตามถูกแล้ว นี่จึงเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กไม่เข้าใจและไม่กล้าแสดงออก

 

5. ไร้ความมั่นใจเมื่อต้องฟังพูดภาษาอังกฤษ

 

 


มาถึงปัญหาสุดท้ายที่เด็ก 99% มักประสบและไม่กล้าบอกใคร คือเรื่องของความมั่นใจในการฟังและพูดภาษาอังกฤษนั่นเอง ในประเทศไทยภาษาอังกฤษมีสถานะเป็นเพียงภาษาต่างประเทศ (Foreign Language) เท่านั้น เด็กๆที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนอินเตอร์หรือมีพ่อแม่เป็นชาวต่างชาติจึงไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษนอกรั้วโรงเรียนมากเท่าที่ควร อีกทั้งการเรียนการสอนบางแห่งก็ไม่เข้มข้นพอ มุ่งประเด็นเฉพาะเนื้อหาการเรียนโดยเน้นการเรียนการสอนเฉพาะทักษะระดับสูง เช่นการแตกคำศัพท์ (Vocabulary) การอ่านจับใจความ (Comprehensive Reading) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) ทั้งๆที่ไม่ได้ปูทักษะพื้นฐานเช่นเรื่อง ความสามารถในการฟังเสียงย่อยของภาษาอังกฤษให้แม่นยำ (Phonemic awareness) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทักษะอื่นๆในภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการเชื่อมโยงเสียงกับตัวหนังสือ (Phonics) และทักษะระดับสูงอื่นๆ เมื่อเด็กไม่ได้ฝึกทักษะการฟังที่ถูกต้องและดีพอ เด็กก็จะเริ่มขาดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นคนไม่กล้าฟังกล้าพูดภาษาอังกฤษในที่สุด แต่ครั้นจะบอกผู้ใหญ่หรือคุณครูก็ไม่กล้า เพราะขาดความมั่นใจ เพื่อประโยชน์สำหรับเด็กในระยะยาว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมการฟังของลูกๆ โดยอาจสอดแทรกการสอนโดยการพูดย้ำให้เด็กฟังช้าๆ ชัดๆ ออกเสียงให้ชัดเจนทุกคำ และพูดคำที่มีเสียงใกล้เคียงเปรียบเทียบให้เด็กๆฟังบ่อยๆอย่างต่อเนื่อง

โดยธรรมชาติ การฝึกฝนทักษะการฟังที่แข็งแรงตามธรรมชาติต้องใช้เวลานาน โดยต้องทำอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1-2 ปี แต่ปัจจุบัน มีนักประสาทวิทยา (Neuroscientists) และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาภาษาชั้นนำของโลก ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย University of California และ Rutgers University ทุ่มเทเวลากว่า 30ปี เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะด้านการฟังภาษาอังกฤษ ได้ออกแบบระบบการฝึกภาษาอังกฤษให้เห็นผลเร็ว และยั่งยืน เพียงฝึกอย่างต่อเนื่องวันละ 30-50 นาที ติดต่อกันอย่างน้อย 4 เดือนก็จะเห็นผลเทียบเท่ากับเด็กที่ฝึก 1-2 ปี  Fast ForWord คือโปรแกรมที่สามารถช่วยนักเรียนที่ต้องการเรียนรู้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแค่นั้น ยังสามารถพัฒนาสมาธิจากการฟัง ความจำ การวิเคราะห์เสียง และการเรียงลำดับก่อนหลังได้อย่างเห็นผลอีกด้วย ร่วมเป็นหนึ่งในการสร้างความสำเร็จให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้วที่ BrainFit

 

 

ขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โทร 02-656-9938 – 9 

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769

เข้าร่วมสัมมนากับทางสถาบัน BrainFit เพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมฟรี

**สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่นั่งมีจำนวนจำกัด**

LINE: @brainfit_th (มีเครื่องหมาย @ ด้วยนะคะ)
หรือสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อได้ทันทีค่ะ

 

ติดต่อเรา

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

CAPTCHA
This question is for testing whether or not you are a human visitor and to prevent automated spam submissions.