ลูกไม่นิ่ง Brushing ช่วยได้
Submitted by adminbrainfit on Tue, 06/13/2017 - 18:28
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยประสบปัญหาลูกนั่งไม่นิ่ง วอกแวกง่าย ตื่นเต้นกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากเกินไป ชอบการแตะหรือสัมผัสทั้งคนและสิ่งของรอบตัว ไม่ยั้งแรงเวลาเล่นกับเพื่อน หรือบางครั้งอาจเป็นในลักษณะตรงกันข้าม เช่น ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบให้ใครมาสัมผัสตัว ตอบสนองอย่างไม่เหมาะสมเมื่อโดนแตะหรือสัมผัสร่างกาย หรือมีอาการตอบสนองต่อระบบสัมผัสในระดับที่ไม่พอดี เช่น รู้สึกไวต่อความเจ็บปวด อุณหภูมิ อากาศ การสัมผัส แรงกด ในระดับมากหรือน้อยเกินไป อาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร ส่งผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิตของลูกๆ และคุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกๆได้อย่างไร ในบทความนี้ เรามีคำตอบมาให้ค่ะ
อาการต่างๆ ตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น อาจมีสาเหตุมาจาก ในช่วงวัยที่เด็กกำลังพัฒนา “ระบบประสาทสัมผัสและการรับรู้ของร่างกาย” (Tactile system) ไม่สมดุลหรือไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม กล่าวคือ ในชีวิตประจำวันของเด็ก มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นรอบตัวมากมาย สิ่งต่างๆจากสภาพแวดล้อมรอบตัวนับไม่ถ้วน ถูกส่งไปยังสมองพร้อมๆกันในคราวเดียว อาทิ ความร้อน ความเย็น จากสภาพอากาศ ความรู้สึกต่างๆจากการสัมผัส หรือแม้แต่ลมที่พัดผ่านตัวเด็ก จนทำให้สมองไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่ทารก เด็กจะมีพัฒนาการจากการเรียนรู้ทางกายสัมผัสหรือระบบสัมผัสบริเวณผิวหนัง (Tactile system) เช่น เรียนรู้จากการหยิบจับสิ่งของ สัมผัสจากพื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ความแข็งหรืออ่อนนุ่มของวัตถุ หรือแม้แต่การเรียนรู้จากสัมผัสของพ่อและแม่ เมื่อเข้าสู่วัยที่เด็กเริ่มเคลื่อนไหว เด็กๆจะเริ่มพัฒนาระบบวางแผนการเคลื่อนไหว (Motor planning) ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาการที่ดี ซึ่งพัฒนาการในระยะนี้ ระบบสัมผัสทางผิวหนัง (Tactile system) จะส่งสัญญาณการรับรู้ต่างๆ ขณะที่ร่างกายของเด็กกำลังเคลื่อนไหว เช่น สัมผัสจากพื้นขณะคลาน สัมผัสจากลมที่พัดผ่านผิวหนัง สัมผัสจากการกระทบกันระหว่างผิวหนังและเสื้อผ้า สัมผัสเหล่านี้จะส่งสัญญาณไปยังสมอง โดยสมองจะทำให้เด็ก “รู้สึก” และ”เรียนรู้” จากสัมผัสรอบตัวขณะเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอีกกระบวนการหนึ่งของการเรียนรู้และพัฒนาไปสู่ทักษะด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก
อาการที่เด็กไม่สามารถจัดการกับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสผ่านผิวหนังของตนได้ มักพบในกลุ่มเด็กที่เป็นออทิซึม (Autism) แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) สมาธิสั้น (ADD & ADHD) รวมไปถึงโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยในเด็กที่ใช้เวลาไปกับการเล่นเกม เล่นโทรศัพท์ ดูการ์ตูน หรือ ดูโทรทัศน์มากเกินไป เพราะเด็กเหล่านี้มักขาดโอกาสที่จะได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญสำหรับพัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสและการรับรู้ของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เด็กๆเหล่านี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว รู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากผิดปกติ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีบาดแผล รวมไปถึงไม่สามารถตอบสนองกับสิ่งต่างๆรอบตัวได้อย่างเหมาะสม
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว เรามาลองหาวิธีเพื่อลดอาการเหล่านี้กันดีกว่าค่ะ
วิธีง่ายๆก็คือ กระตุ้นระบบประสาทสัมผัสและการรับรู้ของร่างกาย เพื่อชดเชยพัฒนาการที่ขาดหายไปในวัยเด็ก โดยการใช้ฝ่ามือลูบผิวหนังด้วยน้ำหนักที่พอเหมาะพร้อมๆกับการบีบนวดหัวไหล่ หรือ การนอนกลิ้งม้วนตัวบนที่นอน เพื่อปรับการทำงานของระบบสัมผัสที่ผิวหนัง ระบบการทรงตัว และระบบการรับรู้ของข้อต่อต่างๆในร่างกายให้สัมพันธ์กัน หรือฝึกกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสและการรับรู้ของร่างกายโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ระบบประสาทสัมผัสและการรับรู้ของร่างกายถูกกระตุ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน
BrainFit Studio มีกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-18 ปี ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของร่างกายให้เด็กสามารถควบคุมร่างกายให้เป็นไปได้ตามต้องการ ประกอบกับกิจกรรม Daily Brushing ที่จะช่วยกระตุ้นการรับส่งข้อมูลจากระบบสัมผัสทางผิวหนังและการรับรู้ของร่างกายไปยังสมองของเด็กให้ดีขึ้น ส่งผลให้เด็กมีสมาธิและสามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเต็มศักยภาพ สนุกกับการเรียนรู้ และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
ติดต่อเราเพื่อปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 026569938 หรือ 091-774-3769
ขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โทร 02-656-9938 – 9
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
BrainFit จัดสัมนาเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง และคอร์สระบบการฝึกของเรา อย่างสม่ำเสมอ **สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่นั่งมีจำนวนจำกัด**
หรือสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อได้ทันทีค่ะ